ผ้ายืดของฉันมันเป็น Semi comb หรือ Dummy comb กันแน่ ?

  บังเอิญเพื่อนส่งบทความดีดี ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับสภาพการค้าขายผ้าในตลาด ซึ่งจะพบเห็นอยู่บ่อยๆๆว่า ทำไมผ้าร้านนั้น ราคาถูกกว่าร้านเทอ ทั้งที่เป็นผ้า Semi-Comb เหมือนกัน แต่แล้วพอได้ลองใช้ไปก็พบกับ

ปัญหาซึ่งตามมาเนื้องจากวัตถุที่นำมาใช้ในการผลิตต่างกัน ราคาก็ต้องต่างกันเป็นธรรมดา

ของถูกและดีมีแต่ต้องค่อยๆๆหานะครับ ท่านผู้ซื้อทั้งหลาย


ขอขบคุณบทความที่ดีจาก ttistextiledigest ด้วยครับ

ช่วงเดือนกันยายน 2554 ข่าวคราวเรื่องการติดตั้งกล้องวงจรปิดทั่วกรุงเทพมหานครที่บางแห่งติดตั้งกล้องหลอก หรือเรียกว่ากล้อง Dummy  เป็นข่าวที่ครึกโครมดังมากและเป็นกระแสกลบเกลื่อนข่าวทุกๆ เรื่อง
จนกระทั่งล่วงเลยเข้ามาถึงเดือน ตุลาคม โดนข่าวเรื่องน้ำท่วมในหลายจังหวัด โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ บดบังเรื่องดังกล่าวเงียบไปถนัดใจ ผู้เขียนนึกถึงเรื่องนี้พอดีจึงขอถ่ายทอดประสบการณ์การผลิตเส้นด้าย Semi comb ซึ่งมีเค้าโครงบางอย่างเหมือนกับกล้อง Dummy ขอเรียกเป็นภาษาไทยโดยเรียบเคียงให้ใกล้เคียงกันและขอเรียกว่า “คอมหลอกลวง” โดยขอถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้ผ่าน TTIS Textile Digest+ ฉบับนี้ ถ้าใช้คำพูดที่รุนแรงและทำให้โรงงานปั่นด้ายบางโรงไม่สบายใจต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ แต่สิ่งที่ผู้เขียนตั้งใจถ่ายทอดผ่านผู้อ่านเป็นเรื่องจริงที่มีการปฏิบัติกันเฉพาะบางโรงงานเท่านั้น ขอยืนยันว่าเฉพาะบางโรงงานเท่านั้น โดยใช้เทคนิควิธีการบางอย่างเพื่อผลิตเส้นด้ายออกมาโดยไม่ให้ผู้ใช้ได้ล่วงรู้เลย
Semi_comb_001
ในอดีตช่วงระหว่างปี พ.ศ.2529-2533 นับว่าเป็นยุคทองของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอยู่ในลำดับต้นๆ ในสมัยนั้นถือได้ว่าอยู่ในระดับ Top Ten แรงงานภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอมีมากกว่าสองล้านคน จึงถือว่าเศรษฐกิจในยุคนั้นอยู่ในช่วงเฟื่องฟูสุดขีด หนึ่งในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่สร้างรายได้ให้กับโรงงานปั่นด้าย ก็คือ การผลิตเส้นด้ายหวีร้อยเปอร์เซ็นต์ (Full comb yarn) ออกมา เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตสินค้าทางด้านเสื้อผ้า หรือ แฟชั่นสิ่งทอ
กระบวนการผลิตเส้นด้ายหวี หมายถึง การนำเส้นใยฝ้าย ที่มีความยาวตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป ผ่านกระบวนการปั่นด้ายทุกขั้นตอน ตั้งแต่เครื่องผสมเส้นใยฝ้าย (Blowing Room) เครื่องสางใย (Cording Machine) เครื่องเตรียมการหวี (Hi Lap)หรือเครื่อง Super Lap (อาจใช้เครื่อง Sliver Lap และ Ribbon Lap) เครื่องหวีฝ้าย (Combing Machine) เครื่องรีดปุย (Drawing Machine) เครื่องปั่นสอง (Roving Machine) เครื่องปั่นสาม (Ring Spinning Machine) และเครื่องกรอด้าย (Winding Machine) ในช่วงนี้เองมีโรงงานปั่นด้ายเกิดขึ้นมากมายมีทั้งโรงงานขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก จำนวนแกนปั่นด้ายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชาวต่างชาติได้ขยายกิจการโรงงานเข้ามาเปิดในประเทศไทยเป็นจำนวนมากหลังจากนั้นไม่นานประมาณปี พ.ศ.2535 อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเริ่มซบเซาลงอย่างต่อเนื่อง ความอยู่รอดของโรงงานปั่นด้ายถือเป็นภารกิจที่สำคัญของแต่ละโรงงานที่ต้องต่อสู้กันอย่างรุนแรงเพื่อความอยู่รอด กลยุทธ์หรือวิธีการต่างๆ ถูกงัดออกมาใช้เพื่อชิงความได้เปรียบ หนึ่งในกลยุทธ์นั้น คือการคิดค้นกระบวนการผลิตเส้นด้ายแบบ Semi comb ออกมาขายให้กับลูกค้า เส้นด้ายชนิดนี้เป็นการผสมผสานกันของกระบวนการผลิตแบบเส้นด้ายสาง (Carded Yarn) และเส้นด้ายหวี (Combed yarn) มาผสมกันในอัตราส่วนที่พอเหมาะเพื่อให้ได้เส้นด้ายที่มีคุณภาพดีกว่าเส้นได้สางแต่ด้อยกว่าเส้นด้ายหวี ซึ่งจะขออธิบายกระบวนการผลิตในลำดับต่อไป ในความเป็นจริงเส้นด้าย Semi comb มีการผลิตกันมานานแล้วตั้งแต่สมัยที่ผู้เขียนเริ่มเข้าสู่วงการสิ่งทอใหม่ๆ โดยใช้อัตราส่วนผสมของเส้นด้ายสางในอัตราส่วนประมาณ 50-80% โดยใช้กรรมวิธีการผลิตเหมือนกับการปั่นด้ายหวีทุกประการ เพียงเพิ่มเทคนิคบางอย่างเข้าไปในระหว่างการผลิต
Semi_comb_002

กระบวนการปั่นด้าย Semi comb ส่วนใหญ่มักจะผลิตที่กระบวนการปั่นด้ายแบบวงแหวน (Ring spinning) ไม่นิยมทำที่กระบวนการปั่นด้ายปลายเปิด หรือ โออี (Open-end Spinning) การผลิตเริ่มจากการนำวัตถุดิบประเภทเส้นใยฝ้ายผ่านกระบวนการปั่นด้ายหวี และด้ายสาง ตามอัตราส่วนที่ต้องการ จริงๆ แล้ว คำว่า Semi หมายถึง กึ่งหนึ่งหรือครึ่งหนึ่ง นั่นหมายถึง การผสมกันของเส้นด้ายสางและเส้นด้ายหวี ตามอัตราส่วนที่เท่ากันคือ 50% ต่อ 50% แต่ด้วยกลวิธีของโรงงานปั่นด้ายมักจะใช้วิธีการที่ผิดแปลกไปจากที่ได้กล่าวมาเพื่อควบคุมต้นทุนการผลิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยทั่วไปเส้นด้ายหวีจะใช้เส้นใยฝ้ายที่มีความยาวและมีคุณภาพดี นั่นหมายถึง มีต้นทุนสูงกว่าเส้นด้ายสางที่ใช้ใยฝ้ายที่มีความยาวน้อยกว่าและคุณภาพต่ำกว่า ดังที่ได้พบเห็นบางโรงงานใช้อัตราส่วนที่ต่ำกว่า 50% ต่อ 50% นั้นหมายถึง อาจกำหนดอัตราส่วนเท่าใดก็ได้ โดยให้อัตราส่วนของเส้นใยฝ้ายสางมากกว่าเส้นใยฝ้ายหวี ซึ่งเท่ากับการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงนั่นเอง โดยมีวิธีการผลิตดังนี้
กรณีการผลิตเส้นด้ายหวีเริ่มจากการนำเส้นใยฝ้ายที่มีความยาวมากกว่า 1นิ้ว ขึ้นไปผ่านเข้าเครื่องผสมเส้นใย (Blowing Room) เครื่องสางใย (Carding) เครื่องรีดปุย (Drawing) เครื่องเตรียมการหวี (Hi lap or Super lap) และเครื่องหวี (Combing) เพื่อเตรียมสไลเวอร์ (Sliver) ที่ออกมาจากเครื่องหวี
กรณีการผลิตเส้นด้ายสางเริ่มจากการนำเส้นใยที่มีความยาวตั้งแต่ 1 นิ้ว ถึง 1 นิ้ว ป้อนเข้าเครื่องผสมเส้นใย เครื่องสางใย เพื่อเตรียมสไลเวอร์ (Sliver) ที่ออกมาจากเครื่องสางใย ต่อจากนั้นนำสไลเวอร์จากกระบวนการปั่นด้ายหวี ที่เครื่องหวี (Combing) มาผสมกับสไลเวอร์ที่ได้จากกระบวนการปั่นด้ายสางที่เครื่องสางใย (Carding) ในอัตราส่วนตามที่ผู้ผลิตต้องการ เช่น กรณีตัวอย่างที่ผู้เขียนขอยกขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา โดยกำหนดให้สไลเวอร์ ที่ได้จากเครื่อง Combing และสไลเวอร์ที่ได้จากเครื่อง Carding แต่ละเส้นมีน้ำหนักเท่ากัน คือ น้ำหนักทั้งสองชนิดหนักประมาณ 340 เกรน ต่อความยาว 6 หลา เท่ากันนำมาผสมกันที่เครื่องรีดปุยครั้งที่ 1 ที่หลังเครื่องกำหนดให้ต้องป้อน Silver จำนวน 8 เส้น เพื่อลดขนาด (Drafting) ออกมาที่หน้าเครื่องเพียงเส้นเดียวดังตัวอย่างต่อไปนี้
กรณีที่ 1 ถ้าต้องการให้ได้ Semi comb ที่แท้จริงนั่นหมายถึง ต้องการส่วนผสมของสไลเวอร์จากเครื่อง Combing 50% และ สไลเวอร์จากเครื่อง Carding 50% อัตราส่วนผสมของเส้นใยทั้งสองเมื่อป้อนเข้าเครื่องรีดปุยครั้งที่ 1 ต้องใช้ Sliver จากเครื่อง Combing 4 เส้น ผสมกับ Sliver ที่เครื่อง Carding 4 เส้น ก็จะได้ Semi comb แท้จริงคืออัตราส่วน 50% ต่อ 50% กรณีเช่นนี้จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
กรณีที่ 2 ถ้าต้องการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ก็อาจใช้ Sliver ที่ได้จากหลังเครื่อง Combing จำนวน 3 เส้น ผสมกับ Sliver ที่ได้จากเครื่อง Carding จำนวน 5 เส้น นั่นหมายถึง ใช้ส่วนผสมจากเครื่อง Combing 37.5% ผสมกับเครื่อง Carding 62.5% ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงกว่ากรณีที่ 1 และจะทำให้คุณภาพที่ได้ด้อยกว่ากรณีที่ 1 เช่นกัน
กรณีที่ 3 ถ้าต้องการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงอีก อาจใช้อัตราส่วนผสมของ Sliver จากเครื่อง Carding 2 เส้นผสมกับ Sliver จากเครื่อง Carding 6 เส้น ก็จะได้อัตราส่วนที่ได้จากเครื่อง Carding 75% นั่นหมายถึง ผู้ซื้อจะได้เส้นด้ายที่มีคุณภาพต่ำกว่ากรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 เท่ากับฝ่ายผลิตได้ลดต้นทุนการผลิตลงไปอีกระดับหนึ่ง


กรณีที่ 4 อาจใช้อัตราส่วนผสมของ Sliver จากเครื่อง Combing 1 เส้น ผสมกับ Sliver จากเครื่องสางใย 7 เส้น นั่นหมายถึง ใช้อัตราส่วนของเครื่อง Combing 12.5% และอัตราส่วนของเครื่อง Carding 87.5% ในกรณีนี้จะได้คุณภาพของเส้นด้าย ด้อยกว่ากรณีที่ 3 และต้นทุนการผลิตก็จะต่ำกว่ากรณีที่ 3
Semi_comb_003
ดังตัวอย่างทั้ง 4 กรณีที่ได้ยกมาเทียบเคียงให้เห็นนั้น ผู้อ่านจะพบว่าทางโรงงานปั่นด้ายได้ใช้ยุทธวิธีการผลิตที่แยบยลโดยผู้ซื้อไม่สามารถทราบได้เลยว่าเส้นด้าย Semi combที่ซื้อมานั้นเป็นของแท้หรือเป็นของเทียม ลองเปรียบเทียบดูจากกรณีที่ 1จะพบว่าถ้าผู้ผลิตเลือกใช้วิธีการเช่นนี้ผู้ใช้จะได้เส้นด้ายที่เรียกว่า Semi comb ของแท้ประโยชน์ก็จะตกอยู่กับผู้ใช้โดยตรง นั่นหมายถึง ผู้ใช้จะได้คุณภาพของเส้นด้ายที่ตนเองต้องการโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ขาย นั่นหมายถึง ผู้ซื้ออยู่ในระดับเสมอตัวเท่านั้น แต่ถ้าผู้ซื้อต้องการเส้นด้าย Semi comb ที่แท้จริง แต่ฝ่ายผลิตกลับเลือกใช้กระบวนการผลิตในกรณีที่ 2,3 และ 4 โดยฝ่ายผลิตอาจมีเทคนิควิธีการผลิตให้ได้เส้นด้ายที่มีคุณภาพ ทั้งทางด้านความเหนียว (Strength) ความสม่ำเสมอ (Evennes) และขนาด (Yarn Count) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก็จะทำให้ฝ่ายผลิตได้เปรียบผู้ซื้อทั้งในด้านต้นทุนการผลิต และคุณภาพที่ต่ำลงมาโดยที่ผู้ซื้อไม่สามารถรู้ได้เลยว่ากำลังถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ขายเท่ากับผู้ซื้อถูกมัดมือชก โดยไม่มีทางเลือกนั่นเอง
จะพบว่าการผลิตเส้นด้าย Semi comb ในกรณีที่ 1 นั่นผู้ใช้มีผลเท่ากับเสมอตัวเท่านั่นเอง แต่ถ้าถูกเลือกให้ใช้กรณีตัวอย่างที่ 2, 3 และ 4 มีผลเท่ากับผู้ซื้อมีแต่เสียกับเสียนั่นเอง ทั้ง 4 กรณีตัวอย่างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต แต่ในปัจจุบันมียุทธวิธีแยบยลกว่าเดิม คือกรรมวิธีการผลิตเส้นด้าย Dummy comb หรือ คอมหลอกลวง ซึ่งจะขออธิบายในลำดับต่อไป
กระบวนการปั่นด้าย Full Comb เป็นกระบวนการปั่นด้ายฝ้ายร้อยเปอร์เซ็นต์ที่นำเส้นใยฝ้ายที่มีความยาวตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไปผ่านเข้าเครื่องหวีฝ้าย (Combing) การผ่านเครื่องนี้เศษเส้นใยฝ้ายนี้เรียกว่า นอยส์ (Noils Comb) จะถูกกำจัดออกจากเครื่องหวีฝ้ายอีกประมาณ 15-25% นอกเหนือจากเศษฝ้ายที่ถูกกำจัดออกจากกระบวนการผสมเส้นใย (Blowing Room) เครื่องสางใย(Carding) เศษ Noils จะถูกกำจัดมากน้อยขึ้นอยู่กับเบอร์ด้ายที่ทำการผลิต เบอร์ด้ายยิ่งสูงมากเท่าไหร่ขนาดของเส้นด้ายจะเล็กลง และมีความละเอียดอ่อนมาก จะใช้เส้นใยฝ้ายที่มีความยาวมากและเศษเส้นใยฝ้ายจะถูกกำจัดออกมามากกว่าเส้นด้ายเบอร์ต่ำที่ใช้เส้นใยฝ้ายสั้นกว่า ดังนั้นกลุ่มผู้ผลิตเส้นด้าย Semi comb ทราบถึงเหตุผลในด้านนี้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะถ้านำเอา Sliver จากเครื่อง Combing มาผสมกับ Sliver จากเครื่องสางใย จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว จากเหตุผลที่นำ Sliver จากเครื่อง Combing มาผสมต้องคำนึงถึงปริมาณของ Noils ที่ถูกกำจัดออกมา ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการผลิตที่จะไม่นำเอา Sliver จากเครื่อง Combing มาผสมโดยใช้ Sliver จากเครื่อง Carding มาใช้ร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วเรียกเส้นด้ายประเภทนี้ว่า Semi comb ซึ่งเป็นเทคนิควิธีการที่แยบยลมากทั้งๆ ที่ไม่ได้นำ Sliver จากเครื่อง Combing มาใช้เลย ผู้เขียนจึงขอเรียกกรรมวิธีการผลิตนี้ว่า Dummy comb
Dummy comb  หรือ คอมหลอกลวง เป็นชื่อที่ผู้เขียนตั้งขึ้นมาเองเป็นกรรมวิธีที่ผู้ผลิตนำเส้นใยฝ้ายที่มีความยาว ตั้งแต่ 1 นิ้ว ขึ้นไปผ่านกระบวนการทำเส้นด้ายสาง (Carded yarn) โดยไม่ผ่านเครื่องหวีฝ้าย (Combing) โดยผ่านเข้าเครื่องผสมเส้นใย (Blowing Room) เครื่องสางใย (Carding) เครื่องรีดปุยฝ้าย 1 (Drawing 1) เครื่องรีดปุยฝ้าย 2 (Drawing 2) เครื่องปั่น 2 (Roving) เครื่องปั่น 3 (Ring spinning) และเครื่องกรอด้าย (Winding) กระบวนการผลิตต่างๆ เหล่านี้เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักปั่นด้าย ซึ่งเรียกว่าการปั่นด้ายสาง (Carded yarn) เพียงใช้เทคนิควิธีการนำเส้นใยฝ้ายที่มีความยาวมากกว่าปกติมาใช้ในกระบวนการผลิต โดยทั่วไปเส้นด้ายสาง (Carded yarn) หมายถึงเส้นด้ายตั้งแต่เบอร์ 32S ลงมาได้แก่ เส้นด้ายเบอร์ 32S ,20S, 10S ,7S เป็นต้น เส้นด้ายเหล่านี้มักนำเส้นใยฝ้ายที่มีความยาวตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไปจนถึงความยาว 1นิ้ว มาผลิต ความยาวของเส้นใยฝ้ายจะเป็นตัวกำหนดขนาดของเส้นด้าย เส้นด้ายเบอร์สูงมากเท่าไหร่จะใช้ฝ้ายที่มีความยาวมากขึ้นเท่านั้น ถ้าสังเกตดูให้ดีก็จะพบว่า ความยาวฝ้ายสูงสุดของเส้นด้ายสางจะใช้ประมาณ 1 นิ้ว แต่ในกรณีที่ฝ่ายผลิตนำเทคนิควิธีการที่นำเส้นใยฝ้ายที่มีความยาว ตั้งแต่ 1 นิ้ว ขึ้นไป มาผ่านกระบวนการปั่นด้ายสางแล้วเรียกเส้นด้ายตัวนี้ว่า Semi comb ซึ่งเป็นวิธีการที่แยบยลมากบางครั้งผู้ซื้อไม่มีโอกาสล่วงรู้ได้เลย เพราะความยาวฝ้ายจะเป็นตัวกำหนดความเหนียวและความสม่ำเสมอของเส้นด้ายแต่ละเบอร์ ยิ่งถ้าใช้ฝ้ายที่มีความยาวมากขึ้นมาผลิตเป็นเส้นด้ายจะทำให้มีความเหนียวและความสม่ำเสมอมากขึ้นดังนั้นเมื่อนำฝ้ายเหล่านี้มาทำก็จะได้เส้นด้ายที่มีคุณสมบัติเหนือกว่าเส้นด้ายสาง (Carded yarn) แต่ด้อยกว่า เส้นด้ายหวี (Combed yarn) ฝ่ายผลิตจึงใช้วิธีการนี้ผลิตเส้นด้ายออกมาจำหน่าย แล้วเรียกเส้นด้ายนี้ว่า Semi comb แต่ผู้เขียนขอเรียกเส้นด้ายนี้ว่า Dummy comb หรือ คอมหลอกลวง
การนำเส้นด้ายคอมหลอกลวงมาใช้อาจส่งผลกระทบให้สมบัติทางกายภาพในด้านต่างๆ ให้ต่ำลง 5 ประการดังต่อไปนี้
1. ความสม่ำเสมอ โดยธรรมชาติของ Dummy comb มักใช้เส้นใยฝ้ายที่มีความยาวตามเกณฑ์ของเส้นด้าย Full
Comb กล่าวคือ จะใช้เส้นใยที่มีความยาวประมาณ 1 นิ้วขึ้นไป ด้วยความยาวขนาดนี้ช่วยให้เส้นด้ายที่ผลิตออกมีความสม่ำเสมอดี ในกรณีที่ผ่านกระบวนการหวี (Combing) เนื่องจากเส้นใยสั้น (Short Fiber) จะมีความยาวประมาณ  นิ้ว – 1 นิ้ว จะถูกกำจัดออกมาจากเครื่องประมาณ 15-25% เศษเส้นใยเหล่านี้คือ Comber noils ที่สามารถนำไปผสมกับเส้นใยฝ้ายในอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อผลิตเส้นด้าย ฝ้ายเบอร์ต่ำๆ เช่นเบอร์ 16S-20S ได้ ดังนั้นกรณีใช้ทำ Dummy comb เศษเส้นใยเหล่านี้จะถูกปลอมปนเข้าไปสู่กระบวนการผลิตตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนกระทั่งผลิตออกมาเป็นเส้นด้าย เมื่อสังเกตุให้ดีจะพบว่ารอบบริเวณผิวรอบนอก จะปรากฏให้เห็นขนเส้นด้ายโผล่ออกมา (Hairiness) หรือเกิดการเรียงตัวของเส้นใยไม่เป็นระเบียบ ซึ่งโดยธรรมชาติเส้นใยเหล่านี้ควรเรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรงขนานกันอย่างมีระเบียบ ทำให้เส้นด้ายมีความสม่ำเสมอน้อยกว่าเส้นด้าย Semi comb และ Full Comb
2. ความสะอาด เศษเส้นใยฝ้ายที่เรียกว่า Comber noils จะมีความยาวน้อยมากไม่เหมาะสำหรับการทำเส้นด้าย Comb yarn แต่ถ้านำเทคนิควิธีการทำเส้นด้ายแบบ Dummy comb อาจทำให้เส้นใยสั้นส่วนหนึ่งถูกผสมปนกันเข้าไป และถ้าสังเกตดูให้ดี จะเห็นว่า Comber noils เหล่านี้ จะมีฝุ่นละอองและมี NEP ติดปนอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อไม่ได้ถูกกำจัดออกส่งผลกระทบต่อคุณภาพของเส้นด้ายมักทำให้เส้นด้ายขาดบ่อย ในขณะที่ผ่านเข้าเครื่องปั่นด้าย (Ring Spinning) หรือในกรณีที่เส้นด้ายไม่ขาดจะพบว่ามีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่บนผิวรอบนอก

3. ความแข็งแรง Comber noils ที่ถูกกำจัดออกมาจากเครื่อง combing จะมีคุณภาพต่ำไม่สามารถนำไปผสมกับฝ้ายที่ทำเส้นด้าย Comb yarn แต่สามารถนำไปผสมกับฝ้ายที่ทำเส้นด้าย Cord yarn เบอร์ต่ำๆ ได้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม ดังนั้นในกรณีของเส้นด้าย Dummy comb จะมี Noils ปะปนเข้าไปจำนวนหนึ่ง เมื่อปั่นเป็นเส้นด้ายการเรียงตัวของเส้นใยไม่เป็นระเบียบจะพันกันยุ่งเหยิง เมื่อพิจารณาในแง่มุมของการปั่นด้าย จะพบว่าเส้นด้าย Full Comb และ Semi Comb จะมีความแข็งแรงสูงกว่าเส้นด้าย Dummy comb

4. ปริมาณของขนในเส้นด้าย (Hairiness) เกิดขึ้นจากข้อจำกัดของกระบวนการผลิตเส้นด้ายใยสั้นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เป็นผลมาจากการลอยตัวของเส้นใยฝ้ายในส่วนที่อยู่ด้านปลายเส้นใยที่ไม่ถูกจับยึดติดกันในขณะที่ผ่านการ drafting จากเครื่องรีดปุย (Drawing) เครื่องปั่นสอง (Roving) จึงมีโอกาสทีจะทำให้เกิดขนบนเส้นด้ายได้มากกว่า โดยเฉพาะการใช้เศษเส้นใยสั้นที่เรียกว่า Comber noils ผสมปนเข้าไปในกระบวนการผลิต Dummy comb เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันดูจะพบว่าเส้นด้าย Full Comb และ Semi comb จะมีขนบนเส้นด้ายน้อยกว่า Dummy comb

5. ต้นทุนการผลิต เหตุผลในข้อนี้ไม่มีผลต่อคุณภาพของเส้นด้าย แต่ในแง่ของปัจจัยการผลิตในด้านต้นทุนจะพบว่าเส้นด้าย Full Comb เป็นเส้นด้ายที่ใช้เส้นใยฝ้ายที่มีความยาวมากและมีปริมาณการสูญเสียโดยเฉพาะเส้นใยสั้นที่ถูกกำจัดออกมาจากกระบวนการผลิต จะมากกว่าปกติอยู่ประมาณ 15-25% ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงมาก กรณีเส้นด้าย Semi comb อัตราส่วนผสมส่วนหนึ่งเกิดจากการนำเส้นใยฝ้าย Card yarn ที่มีปริมาณการสูญเสียจากกระบวนการผลิตประมาณ 10-15% ผสมกับเส้นใยฝ้ายจากเครื่อง combing บางส่วนที่มีปริมาณการสูญเสียอีก 15-25% นั่นหมายถึง ต้นทุนการผลิตของเส้นด้าย Semi comb จะต่ำกว่าเส้นด้าย Full comb แต่ในกรณีการผลิตเส้นด้าย Dummy comb ที่ใช้เทคนิควิธีการบางอย่างสอดใส่เข้าไปในกระบวนการผลิตเส้นด้ายจะมีปริมาณการสูญเสียของเศษเส้นใยฝ้ายประมาณ 10-15% เท่านั้น (จากกระบวนการผลิตเริ่มตั้งแต่เครื่อง Blowing Room เครื่อง Carding เครื่อง Drawing เครื่อง Roving เครื่อง Ring spinning) จากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าต้นทุนการผลิตของเส้นด้าย Dummy comb จะต่ำกว่า Semi Comb และ Full comb อย่างชัดเจน
เส้นด้าย Dummy comb หรือ คอมหลอกลวงเป็นกลยุทธ์ที่ผู้ผลิตได้นำเทคนิควิธีการทำเส้นด้ายออกมาเพื่อเลียนแบบ Semi Comb มาจำหน่ายให้กับลูกค้า โดยไม่มีอัตราส่วนผสมของ Cotton comber ซึ่งเมื่อนำฝ้ายผ่านเข้าเครื่อง Combing จะสูญเสียเศษเส้นใยฝ้ายที่เรียกว่า Comber noils อีกเป็นจำนวนมากทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จึงใช้เทคนิคโดยการนำเส้นใยฝ้ายที่มีความยาวตามเกณฑ์มาตรฐานในการทำเส้นด้าย Comb yarn ผ่านเข้าเครื่องสางใยเพียงอย่างเดียวโดยไม่ผ่านเครื่อง Combing แล้วนำไปผสมกันที่เครื่อง Drawing อีกประมาณ 2 ครั้งต่อเนื่องไปยังกระบวนการปั่นด้ายทุกขั้นตอนแล้วได้เส้นด้ายออกมาเรียกว่า Dummy comb กลยุทธ์แบบนี้ผู้ซื้อเส้นด้ายไม่มีโอกาสได้ล่วงรู้เลย แต่ถ้าพิจารณาให้ดีในแง่คุณภาพที่ผู้เขียนได้อธิบายมาตามสมบัติทางกายภาพจะพบว่า Semi comb จะมีคุณภาพดีกว่า Dummy comb นั่นเอง
**รองศาสตราจารย์ บุญชัย  บุญธรรมติระวุฒิ อาจารย์ประจำสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สนใจสั่งซื้อผ้ายืดราคาถูก จากร้านขายผ้ายืด Kcotton32 ได้ที่











เครดิตข้อมูล : http://www.kcotton32.com/
    Facebook : https://www.facebook.com/kcotton32 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :  http://cotton32.wordpress.com/  


ชนิดของผ้ายืด และลักษณะการใช้ผ้า

ผ้ายืดที่นิยมใช้ตัดเสื้อยืดทั่วไปในท้องตลาดนั้น

มีอยู่สาม สี่ชนิด วันนี้เราจะมาแยกประเภทกันว่าผ้ายืดชนิดไหน ใช้ตัดเสื้ออะไรและทำไม

1. ผ้าหน้าเดียว
2. ผ้าสองหน้า
3. ผ้าปีเก้
4. ผ้าบอดี้ไซร้
5. ผ้าขนหนู


1. ผ้ายืดชนิดแรก เรียกว่า ผ้ายืดหน้าเดียว (single jersey)ท้องตลาดทั่วไปเรียก ผ้าหน้าเดียว
หรือผ้าเจอซี่  เหตุที่เรียกชื่อ
ผ้าชนิดนี้ว่าผ้าหน้าเดียว เพระทอมาจากเครื่องหน้าเดียว

เครื่องทอผ้าหน้าเดียว “single jersey knitting machine”
มีกระบอกเข็มแนวตั้งแนวเดียว
ทอผ้าออกมาเป็น
ผ้าลายตรงๆ ด้านเดียว ด้านหลังเรียบ


เครื่องทอผ้ายืดหน้าเดียว

ผ้ายืดหน้าเดียวนั้น นิยมใช้ตัดเย็บเสื้อยืด คอกลม คอวี ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป   ดังจะเห็นได้จากรูป

7วัน เสื้อคอวีสีขาว
เสื้อคอวีสีดำ 7 วัน


2. ผ้ายืดชนิดต่อมาเรียกว่า ผ้ายืดสองหน้า “Interlock Fabric”
ผ้ายืดชนิดนี้ทอจากเครื่อง interlock มีกระบอกเข็มด้านแนวตรง และแนวนอน ถักทอผ้าออกมาไห้มีลายสองด้าน เนื้อผ้าจะดูหนาขึ้น และนุ่มขึ้น


เครื่องทอผ้ายืด interlock เครื่องทอผ้ายืด interlock1

ผ้าสองหน้านั้น ท้องตลาดนิมยม นำมาทำเสื้อผ้าเด็ก กางเกง กางเกงใน ชุดนอนเพราะต้องการความนุ่มของเนื้อผ้า
เสื้อยืดเด็ก เสื้อยืดเด็ก1


3. ผ้าปีเก้ หรือผ้าลายลาคลอส คือผ้าทีผลิตจากเครื่อง หน้าเดียว แต่ต้องปรับแต่งเครื่องไห้เป็นลายผ้ายืดชนิดนี้นิยมมากในการทำเสื้อโปโล ส่วนลายของผ้ายืดชนิด นี้มีทั้งลาย ปีเก้ ลาคลอส คาเนโกะ

เสื้อยืดโปโล เสื้อยืดโปโล1


4. ผ้าบอดี้ไซ้ร์  คือผ้ายืดที่ผลิตจากเครื่องหน้าเดียว แต่ขนาดเล็กกว่า ส่วนใหญ่นิยมทำเสื้อที่ไม่มีตะเข็บข้าง

เครื่องทดผ้ายืดbodysize เครื่องทดผ้ายืดbodysize1

บทความ นำเนอโดย Kcotton32
สนใจสั่งซื้อผ้ายืด
welcome web copy


 เครดิตข้อมูล : http://www.kcotton32.com/
    Facebook : https://www.facebook.com/kcotton32 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :  http://cotton32.wordpress.com/  

เทคนิคการเลือกซื้อผ้ายืดสำหรับมือไหม่ ก่อนนำไปตัดเย็บ (แชร์จากประสบการณ์คนซื้อผ้า)

ผ้ายืดหลากสี
ในฐานะผู้ผลิตเสื้อยืด ย่อมต้องการผ้ายืดที่ดีมีคุณภาพ นำไปตัดเย็บแล้ว ได้เสื้อที่สวยมีรูปทรงถูกใจลูกค้า แล้วผ้ายืดที่นำไปตัดเย็บเสื้อนั้น ต้องใช้ไห้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ตัดเย็บเสื้อได้จำนวนมากที่สุด เสียเศษผ้าน้อยที่สุด นั่นหมายถึงผลกำไรที่ตามมานั่นเอง ดังนั้น เรื่องผ้าหนา ผ้าบาง เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ของผู้ซื้อผ้ายืด ถ้าจะพูดกันอย่างง่ายๆๆ ผ้ายืด มันต้องยืดอยู่แล้ว แถมถ้ายืดมากไป มันกลับจะหดตัวมาซะอีกเรื่องความถูกใจของลูกค้านี่ก็วัดยาก ผ้าหนาเกินไป ผ้าบางเกินไป ผ้าย้วยตัดเสื้อออกมาไม่ได้ทรง ก็ขายไม่ได้หรือ ผ้าหนาเกินไป ตัดเย็บออกมาแล้ว เสื้อดูหนา ใส่แล้วร้อน แถมยังใช้ปริมาณเนื้อผ้าเยอะไป ขาดทุนค่าผ้าที่ซื้อมา 


ผู้ผลิตเสื้อยืดหน้าไหม่ที่ประสบการณ์ยังมีไม่มาก ถ้าไปซื้อผ้าตามร้านต่างๆ ที่เน้นแต่ราคาถูกไว้ก่อน
อาจเจอผ้ายืดที่เขาผลิตขึ้นมาไม่ได้spec เช่น เนื้อผ้าบางหรือหนาไป หรือ ผ้าผ่านการซ่อมมา ถ้าดีหน่อยคือผ้าที่เหลือจากการใช้จากโรงงานตัดเย็บ เมื่อนำมาตัดเย็บก็ย่อมเจอปัญหาต่างๆๆติดตามมา เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ผมจึงบอกกับลูกค้าเราบ่อยๆๆ ของถูกและดีคงหายาก
ตาดีได้ตาร้ายเสีย


สำหรับผู้ที่จะเริ่มผลิตเสื้อผ้ารายไหม่ๆนั้น ก่อนอื่นท่านต้องมีแบบ และมีเนื้อผ้าที่ท่านต้องการอยู่ในใจท่านจากนั้นท่านต้องนำเนื้อผ้าที่ท่านต้องการไปเปรียบเทียบ กับโรงงานหรือ ร้านค้าว่าเขามีเนื้อผ้าไกล้เคียงกับผ้าที่ท่านต้องการไหมวิธีนี้เป็นการหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในการเลือกซื้อผ้าอย่างแรก สิ่งต่อมาที่ต้องดูคือราคา แน่นอนผู้ซื้อผ้ายืดต้องเปรียบเทียบราคาจากหลายๆๆร้านค้าก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ เรื่องราคานี่พูดยาก โรงงานผ้าที่ถูกและคุณภาพดีก็ยังมี คงต้องค่อยๆหาและเปรียบเทียบกันไป
แต่จากประสบการณ์ คงจะเลือกจากคุณภาพของเนื้อผ้าก่อน
แล้วดูร้านที่ราคาทีคุ้มกับงบประมาณที่วางไว้


สิ่งสุดท้ายสำหรับการซื้อผ้าคือ การตรวจสอบผ้าซึ่งการตรวจสอบผ้ามีอยู่ไม่กี่ขั้นตอน เริ่มจากสีของผ้าต้องไกล้เคียงกันทุกผับ(เรื่องสีผ้านั้น
ถ้ามีการเพื้ยนนิดหน่อยไม่มากก็เป็นที่รับได้)  สิ่งต่อมาที่ต้องตรวจสอบ คือ หน้าผ้าของแต่ละพับควรเท่ากัน แตกต่างกันได้ไม่เกิน 1-1.5นิ้ว
สิ่งสุดท้ายคือ ผ้าที่นำไปตัดนั้น ได้จำนวนกี่ตัว เพื่อนำไปเป็นมาตรฐานในการคำนวณต้นทุนครั้งต่อไป

คราวหน้าผมจะนำบทความเกี่ยวกับ การปรับน้ำหนักผ้ายืด เพื่อไห้เกิดกำไรสูงสุด แต่ยังคงคุณภาพ

ตัดเสื้อยืด                       เย็บเสื้อยืด

สนใจสั่งซื้อผ้ายืดร้าน Kcotton32 ติดต่อได้ที่








เครดิตข้อมูล : http://www.kcotton32.com/
    Facebook : https://www.facebook.com/kcotton32 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :  http://cotton32.wordpress.com/  


แชร์ประสบการณ์ การซื้อผ้าทำเสื้อ lot ที่ผ่านมา

ประสบการณ์การซื้อผ้ายืดครั้งนี้เกิดขึ้นโดยตรงกับกระผมเองเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา
เรื่องของเรื่องมันเกิดจากความมักง่ายของผมเอง ที่คิดว่าถ้าผ้าสีไหนขาดไปหาเอา
ดาบหน้า ตามแหล่งซื้อผ้ายืดวัดสน ที่มีหลายๆๆร้านค้า

ขอบแขนเทา
ผมก็ไปเลือกซื้อเพราะเสื้อ lot นี้ผมตั้งใจใช้สีซกคอ กับเสื้อต่างกัน
แต่ต้องใช้ซกคอ ถึง2สี คือ สีท๊อปดาย และ สีครีม และผ้าหล่อบุ้งที่ทำซก
ใจอยากจะทำเป็นหล่อบุ้ง 2*2 เหมือน กับเสื้อ Super dry
ที่เขาขายกันตัวละ 2 พันแต่หายากหลือเกินตามร้านขายผ้า
มีขายแต่ 1*1 และส่วนมากจะทำจากเส้นด้ายเบอร์ 32 และ 20 
เนื้อผ้าแต่ละร้านก็แตกต่างกันไปตอนนั้นบอกครงๆครับ งง แต่ละร้าน
เนื้อผ้าไม่เหมือนกัน บางร้านเป็นผ้าสต๊อกทั้งร้าน ถ้าซื้อพับนี้ไปใช้หมด
จะมาเอาไหม่คนขายบอกว่ามีพับเดียวในโลกเพราะเป็นผ้าตัดสต๊อก ตัดมาจากโรงงาน
สุดท้ายจึงเลือกซื้อผ้ายืดหล่อบุ้งที่สีตรงกับแบบที่เราออกไว้
โดยเลือกผ้ายืดหล่อบุ้ง 1*1เบอร์20 สีครีม ที่ร้านที่1 และสีท๊อปดายที่ร้านที่2

เนื้อผ้าไม่เหมือนกันเท่าไหร่ นี่คืดสิ่งที่ผมพลาด เพราะเวลานำมาเข้าแขนและคอ ปรากฏว่า
เสื้อที่ทำออกมาดูต่างกันอย่างสิ้นเชิง คืด หล่อบุ้งสีเทา จะดึงเนื้อผ้าเยอะ ไม่คืนตัว และตำแหน่งคอ
จะยิ่งเห็นรอยตะเข็บย่นชัดเจน ต่างกับผ้าหล่อบุ้งสีครีม คอดูเนียน ขอบแขนก็ดูเนียน ทำไห้ต้องเลาะ
ซ่อมและปรับจักรไหม่ แถมต้องเพิ่มความระวังมากขึ้นในการเย็บ ไม่งั้นงานออกมาดูไม่จืดเลย
ขอบแขนเปรียบเทียบ   ซกคอครีม

ที่อยากจะแชร์หลังจากเอาเรื่องน่าสงสัยมาถามที่โรงงาน Kcotton32
คือการซื้อผ้ายืดนั้น เราควรจะมีความรู้เรื่องผ้ายืดด้วยหรือไม่ก็ต้องถาม ร้านค้าโรงงาน
ถ้าไม่แน่ใจไห้ถามผู้รู้ก่อน อย่าคิดว่าสวย พอใช้ได้ แต่ปํญหาตามที่หลัง จะทำไห้ท่านต้องเสียผ้า
หรือขายเสื้อ lot นั้นไม่ได้ตามเป็หมายที่วางไว้

ท้ายนี้ ก้ต้องขอขอบคุณ เจ้ เจน และทางโรงงาน Kcotton32 ที่ได้ไขความกระจ่าง ถ้ามีคำถามเรื่องผ้ายืด
สงสัยว่าจะใช้ผ้ายืดเนื้อไหน น้ำหนักผ้า หน้ากว้าง เท่าไร ติดต่ทางร้านได้


ติดต่อขายผ้ายืด ที่ เจ้เจน







เวลาให้บริการ (Business hour)
โทรสอบถามได้ในเวลา
จันทร์ – ศุกร์ ช่วงเวลา 9.00 – 17.00 น
เสาร์ – อาทิตย์ ช่วงเวลา 10.00 – 16.00 น
Email : riverjrpn@gmail.com
ตอบอีเมล์ทุกๆ วันภายใน 24 ชั่วโมง

เครดิตข้อมูล : http://www.kcotton32.com/
    Facebook : https://www.facebook.com/kcotton32 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :  http://cotton32.wordpress.com/    


Free Counter and Web Stats